วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2564

Friends, please get prepared!

เห็นเค้าบอกว่าการสลับขั้วแม่เหล็กโลก* (geomagnetic reversal) อาจเกิดขึ้นได้ในรุ่นของเรา..

ภาพจาก .thaiphysoc.org - nature.com ขอขอบคุณ


ขั้วสนามแม่เหล็กโลกมันขยับตัวเข้าใกล้ ๔๐ องศาเข้าไปทุกที ๆ แล้ว มันเคลื่อนตัวเร็วกว่าเดิมอย่างเป็นที่น่าสงสัยยิ่ง 
ในภาวะวิกฤตโควิด-19 และบ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจเผด็จ...ผมไม่รู้ว่าเพื่อน ๆ ให้ความสนใจกับเรื่องภัยพิบัติที่จะเกิดอีกมากน้อยแค่ไหน?  มีข่าวร้ายเกิดขึ้นทุกวี่วันบนโลกใบนี้ บางแห่งเกิดขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ ฤาว่าวาระแห่งการเปลี่่่่่่่ยนแปลงจะอยู่ไม่ไกลแล้ว!

ดูดิ...  ถนนเปลี่ยนเป็นคลองแบบไม่ทันให้ได้ตั้งตัว

ภาพ capture จากข่าวใน YouTube - ขอขอบคุณ

น้ำท่วมในทะเลทรายจนอูฐแทบจะเอาชีวิตไม่รอด...

ภาพ capture จากข่าวใน YouTube - ขอขอบคุณ



เจ้าโควิด-19 ได้ระบายสีแดงเถือกลงบนแผนที่ประเทศเพื่อนบ้านเราหลายประเทศ มีเพียงลาว เวียดนาม และบรูไน ที่ยังดูไม่น่ากลัว ไทยเราก็ใกล้แดงเข้าไปทุกทีแล้ว!


ผมเตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ร้าย แล้วเพื่อน ๆ เป็นอย่างไรบ้างครับ?

-----------------------------------------------------

* เป็นการเปลี่ยนแปลงทิศทางของสนามแม่เหล็กโลกโดยที่มีการสลับขั้วกันระหว่างขั้วแม่เหล็กเหนือกับขั้วแม่เหล็กใต้ ปรกติเหตุการณ์นี้จะเกี่ยวข้องกับการที่สนามแม่เหล็กโลกมีความเข้มข้นลดลง ตามด้วยการกลับคืนมาอย่างรวดเร็วหลังจากการสลับขั้วเกิดขึ้น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเป็นช่วงระยะเวลาตั้งแต่หลายหมื่นปีไปจนหลายล้านปี (ที่มา - wikipedia)

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ปักหมุดบุโรพุธโธ

พักนี้ตาแก่เมืองรถม้าอ่านหนังสือเยอะหน่อยนะ มันไปไหนไม่ได้ครับ!...

 

นอกจากอีบุ๊คส์ใน Amazon แล้วยังซื้อหนังสือมือสองที่มีขายออนไลน์เป็นเล่ม ๆ ในราคาถูกมาอ่านด้วย อย่างเช่น...

 
อยากหาจุดเริ่มต้นเดินทางของตัวเอง ก็ต้องสั่งซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่าน มีเรื่องเกี่ยวกับบุโรพุทโธด้วย วิกิพีเดีย กล่าวว่า...
บุโรพุธโธ หรือ โบโรบูดูร์ (อินโดนีเซีย: Borobudur) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย บริเวณภาคกลางของเกาะชวา ตั้งอยู่ที่เมืองมาเกอลัง ห่างจากยกยาการ์ตาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว ๔๐ กิโลเมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๑๒๙๓-๑๓๙๓ เป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ยูเนสโกได้ประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลก ซึ่งถ้าไม่นับนครวัดในประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นทั้งศาสนสถานของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ บุโรพุธโธจะเป็นศาสนสถานของศาสนาพุทธที่ใหญ่ที่สุดในโลก
โบโรบูดูร์ - ภาพจากวิกิพีเดีย (ขอขอบคุณ)

ผมยังไม่มีโอกาสได้เห็นบุโรพุธโธ แต่ก็ปักหมุดไว้แล้วว่าการเดินทางครั้งสุดท้ายจะต้องไปเยือนให้ได้ อยากเห็นบรรยากาศเหนือจินตนาการอย่างที่หนังสือ "Between the lines of the rainbow" (ระหว่างเส้นรุ้งที่ยังตะแคง และเส้นแวงที่ยังตั้งฉาก  เขียนไว้ในหน้า ๔๐-๔๑ หัวข้อเรื่อง "อาทิตย์ชิดจันทร์ หนึ่งวันในบุโรพุธโธ" ว่าดังนี้...
พระจันทร์ค่อย ๆ กลืนหายจมไปในหมู่เมฆ แล้วจางลงไปในฟ้า ทันทีที่แสงชมพูแต้มเติมโลก และค่อย ๆ เพิ่มความสดเป็นสีแดง ไหลย้อนช้อนขึ้นมาจากพื้นดินข้างล่าง สู่ท้องฟ้าข้างบน ค่อย ๆ ทาบผ่าน ภูเขาไฟที่กำลังพ่นควันออกมาเป็นเครื่องหมายคำถาม จังหวะเดียวกันกับเสียงอุทานแสดงความตื่นเต้น หลายภาษาของนักสบตาพระอาทิตย์ ที่ตามขึ้นมาทีหลัง ก็ดังขึ้น...
ผมอยากสาธยายได้งดงามล้ำลึกอย่างที่ได้อ่าน แต่พอดีไม่มีศิลปะในการเขียน ในบล็อกท่องโลกของผมก็เลยว่ากันง่าย ๆ สไตล์ลุงน้ำชา อย่างเช่นเรื่องการปั่นจักรยานฝ่าความมืดไปนครวัด ว่าดังนี้...
ขี่จักรยานไปตามถนน อากาศเย็น มืด ถ้าไม่มีไฟฉายคุณบิมคงปั่นไม่ได้ - เชือกผูกรองเท้าข้างซ้ายเข้าไปพันกับบันได...รถเกือบล้ม - จอดเพื่อปลดเชือกออก -  ตุ๊ก ๆ มาจอดข้างหลังเพื่อให้ความช่วยเหลือ - บอกไม่เป็นไร - ผูกเชือกแล้วปั่นต่อ - ถึงที่ทำบัตรเลี้ยวรถเข้าไป - มีคนทักทาง good morning ๒-๓ คน ได้เวลาจำหน่ายบัตรพอดี (๕.๐๕ น.) - จอดจักรยานไว้ด้านหลัง - เข้ายืนต่อคิว - เตรียมแบ้งค์ $50 ไว้ - ค่อย ๆ ตามเข้าไป - เจ้าหน้าที่บอกให้ยืนหันไปทางขวาเพื่อถ่ายรูป - จ่ายเงินได้ตังค์ทอน $30 - เดินออกมาแล้วถึงนึกได้ว่ายังไม่ได้รับบัตร - ต้องกลับไปเอา...
 

ได้บัตรแล้ว... ผมก็เดินกลับมาที่จักรยาน  เจ้าหน้าที่ขอเช็คบัตรก่อนให้ปั่นออกไป มันมืดมาก...เค้าต้องใช้ไฟฉายส่องดู  โอเค!  ผมเดินทางต่อไปตามถนนมืดมิด โดยใช้ไฟฉายทั้งส่องทางข้างหน้าและใช้ส่งสัญญาณด้านหลัง ระหว่างทางมีรถตุ๊ก ๆ พานักท่องเที่ยวฝรั่งแซงผ่านไปหลายคัน ทุกคนมุ่งหน้าไปดูพระอาทิตย์ขึ้นที่นครวัด ผมออกแรงปั่นไปอีกประมาณ ๒ กิโลเมตรก็เห็นคูน้ำอยู่ข้างหน้า เลี้ยวซ้ายแล้วปั่นต่ออีก ๘๐๐ เมตร เลี้ยวขวาตรงไปยังทางเข้านครวัด ผมปั่นจักรยานมาคนเดียวท่ามกลางความมืด ไม่มีใครบอกทาง จึงต้องหาคำตอบเอาข้างหน้าด้วยตนเอง! ต่างกับผู้ที่มาด้วยตุ๊ก ๆ
สิ่งหนึ่งซึ่งไม่ได้สำรวจไว้ก่อนคือที่จอดจักรยาน นำจักรยานไปที่ข้างบูธแห่งหนึ่ง ด้านหลังมีสนามหญ้า...ผมจับมันนอนพิงแล้วคล้องโซ่ล็อคไว้กับเสา เรียบร้อยแล้วก็เดินหาทางเข้า ความมืดทำให้ผมมองไม่รู้ทิศรู้ทาง ต้องดูว่านักท่องเที่ยวชุมนุมอยู่ตรงไหนแล้วตามเค้าไป

หากไม่มีวิบัติภัยแลไร้โควิด อีก ๓ ปีเจอกันที่บุโรพุธโธนะครับ

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เจ้าอามุย

นั่งอยู่หน้าจอคอมพ์ฯ ที่บ้านห้างฉัตร... ผมใช้เวลาช่วงนึง ตั้งใจฟังเสียงรถวิ่งผ่านไปมาบนถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ลำปาง-เชียงใหม่ หรือเชียงใหม่-ลำปาง (อะไรก็ได้ตามที่อยากเรียก) เส้นทางที่เคยมีฝรั่งนักปั่นท่องโลกขี่จักรยานผ่านไปมาแทบไม่ว่างเว้นวัน!

ภาพนักปั่นจักรยานท่องโลก - นำมาจาก Instagram

เกือบปีมาแล้วซินะที่ไร้ร่างหญิงชายผู้ใช้ชีวิตบนอานจักรยานผ่านมาให้เห็น เจ้า Covid 19 เนี่ยช่างมีอิทธิพลเหลือร้ายจริง ๆ  มันทำให้เส้นสายการเดินทางของผู้คนต้องขาดสะบั้นลงอย่างไม่คาดคิดมาก่อน แล้วยังไม่สามารถบอกได้ว่ามันจะกลับมาต่อติดกันได้อีกเมื่อใด?

การนับถอยหลัง (countdown) ในการเดินทางครั้งสุดท้าย (final trip in 2024) ยังคงดำเนินต่อไปไม่หยุดยั้ง จนกว่าจะถึงเวลาฆ้องชัยถูกตีปล่อยตัวให้ผมกดเท้าปั่นจักรยานออกไปจากจุดเริ่มต้น ถึงตอนนั้นชายผู้มีวัฏจักรชีวิตหมุนผ่านเลยมา ๖ รอบแล้ว คงมิอาจมุ่งหวังว่าจะกลับมาเห็นบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยเต็มใบได้อีกเมือใด! 

 
วันนี้ค้นเจอภาพซึ่งถ่ายไว้ด้วยกล้องฟิล์ม ในวันที่ปั่นจักรยานกลับจากชลบุรีมาขออาศัยพักค้างคืนที่บ้านเพื่อนที่พระโขนง...
 
 
จักรยานที่ใช้ชื่อ "อามุย" ประกอบให้โดยร้านชัยธวัช อยู่ใกล้ประตูเชียงใหม่ 


จักรยานแบบเดียวกันมีทั้งหมด ๓ คัน คุณธวัช (เจ้าของร้านชัยธวัช) ประกอบให้ผมและเพื่อนพายัพอีก ๒  คน (โสฬสและนิทัศน์) เพื่อใช้ทำตามความฝันอันยิ่งใหญ่คือปั่นจักรยานท่องโลก ๔๐ ปีที่แล้วเรื่องของจักรยานยังไม่มีอะไรแปลกใหม่ วัสดุอุปกรณ์ที่นำมาประกอบให้เป็นจักรยานทัวร์ริ่งคันละ ๓ พันบาทก็ได้อย่างแค่ที่เห็น
 
 
"เมืองกรุง" เมืองหลวงของทวยเทพ เมื่อ ๔ ทศวรรษที่แล้วยังไม่ใหญ่โตแลวุ่นวายสับสนเช่นวันนี้ ผมขี่จักรยานร่อนไปมาได้ ตั้งแต่หลังกระทรวง ผ่านวังบูรพา ท่าเรือคลองเตย พระโขนงโยงไปถึงชลบุรี-พัทยา...
 
 
 



ทุกวันนี้ได้อ่านเรืองจักรยานและดูในยูทูป ผมมิได้รู้สึกอิจฉาในอุปกรณ์อย่างดี การขับขี่ของขาแรง หรือการโอ้อวดใด ๆ ทั้งสิ้น รู้ว่าสิ่งที่ได้สัมผัสในอดีตนั้นเป็นยิ่งกว่าประสบการณ์ที่แสวงหาของคนรุ่นใหม่!

คิดถึงหมอหนุ่ย

ต าแก่เมืองรถม้าได้เห็นรูปที่เพื่อนมงฟอร์ตไปพบปะกันทุกวันอาทิตย์ที่ร้านกาแฟของเสี่ยใหญ่ (คนนั่งกลาง) ด้วยความยินดี...  ภาพจาก facebook เพ...