วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2563

คำถามจากลิงสามตัว

ขออภัยที่ต้องปล่อยวางเรื่องการเมือง วันนี้ผมไม่อยากได้ยินเสียงหรือเห็นภาพการยื้อยุดฉุดกระชากเข้าจับกุมผู้เข้าร่วมชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ เห็นแล้วความดันพุ่ง บางครั้งเครียดจนร่างกายออกอาการ ตอนนำถาดอาหารไปส่งพี่ชายที่ชั้น ๓ แค่ได้ยินเสียงก็ยังอดปี๊ดไม่ได้...

3 wise monkeys - ภาพจากวิกิพีเดีย (ขอขอบคุณ)

๑๔ ตุลา ปี ๑๖ ช่วงประมาณตอนนี้แหละที่ผมวิ่งอยู่กลางท้องสนามหลวง ท่ามกลางความวุ่นวายสับสน เสียงปืนที่ได้ยินมาจากด้านกรมประชาสัมพันธ์และภาพผู้หญิงคนหนึ่งล้มลง แม้ผ่านมาเกือบ ๕ ทศวรรษ ทุกวันนี้มันก็ยังไม่ถูกลบออกจากสมองอันเหนื่อยล้าของผม ผมไม่อยากพูดถึงมัน ไม่อยากเห็นเหตุการณ์เช่นนั้นอีก 

ภาพเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา - ภาพจาก PANASIA / AFP

ต้องขอหลัก 3 wise monkeys เป็นที่พึง วิกิพีเดียกล่าวว่า...

The three wise monkeys are a Japanese pictorial maxim, embodying the proverbial principle "see no evil, hear no evil, speak no evil". The three monkeys are Mizaru, who sees no evil, covering his eyes; Kikazaru, who hears no evil, covering his ears; and Iwazaru, who speaks no evil, covering his mouth.

ไม่รับฟังข่าวสาร ไม่ฟังเพลง ผมนั่งอยู่เงียบ ๆ หน้าคอมพ์ฯ อ่านคุณบุ๊คส์ (ไม่อยากเรียกอี อิอิ) อย่างเพลิดเพลินและได้ความรู้.... 

ในหนังสือ "Every Inch of the Way; My Bike Ride Around the World" หน้า ๑๙ Tom Bruce เขียนไว้ว่า...

Halfway along the reservoir we met a German lady; at a guess she was in her seventies, riding a bike with far more gear attached than I had and almost as quickly. She was clearly incredibly fit and was soon telling us stories of places she had been. She didn’t have a home and lived on her bike, but it didn’t seem as though she was forced to do so; it was choice to live that way because she said she had money. On her bike rack, she carried a large tent and two sleeping bags to make it look like she had company every night for security. I pondered her lifestyle for a few hours after we left her and thought it must be very lonely. Although I was very much enjoying cycle touring, she was a permanent cyclist living in a bubble on her own, away from society and the ‘real’ world. I wondered what she had left behind. That lifestyle definitely wasn’t for me; I want a family and a career one day, and felt that it would be very difficult to return to normality after such a long time on the road. She probably never wanted to return though..
ไม่ว่าเมืองไทยจะดีขึ้นหรือแย่ลง ตาแก่เมืองรถม้าขอใช้ชีวิตแบบป้าเยอรมันคนนั้นได้หรือไม่?

 
ทัสซูเฮะจะพาตาแก่วัย ๗๐ ไปทิ้งไว้บนยอดเขาได้หรือเปล่า?

เป็นเรื่องที่น่าคิดและน่าหาคำตอบไม่น้อย!

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563

final trip - สนุกกับตัวเลข

วันนี้มาลองฝึกบวกเลขกันหน่อย (เอาแบบไม่ใช้เครื่องคิดเลขน้า)  ๖,๓๔๘ + ๔,๔๐๔ + ๑,๘๐๓ = ๑๒,๕๕๕
 

  • episode I  เดินทางจากจุดเริ่มต้นที่บ้านห้างฉัตรลำปางจนถึงมะละกา นั่งเรือข้ามไปสุมาตราเหนือ ปั่นต่อถึงบาหลี คือ ระยะทาง ๖,๓๔๘ กิโลเมตร ใช้เวลา ๖ เดือน 
  • episode II บินจากเดนปาซาร์ไปเพิร์ธ ปั่นจากตะวันตกไปตะวันออก สิ้นสุดที่ซิดนีย์  ระยะทาง ๔,๔๐๔ กิโลเมตร ใช้เวลา ๖ เดือน  
  •  episode III (สุดท้าย) บินจากซิดนีย์ไปไครสต์เชิร์ช (Christchurch) ปั่นอีก ๑,๘๐๓ กิโลเมตร ถึงถึงจุดหมายที่โรตัวรัว ใช้เวลา ๓ เดือน

     

๑๒,๕๕๕ เป็นตัวเลขที่น่าสนใจครับ ถ้าปั่นจักรยานวันละ ๔๐ กิโลเมตร (+ -) ทุกวัน ก็ต้องใช้เวลาประมาณ ๑ ปี บวกเพิ่มอีก ๑ ปีสำหรับการแวะพัก รวมแล้วเป็น ๒ ปี
 
ค่าใช้จ่ายวันละ ๓๐๐ บาท ปีนึงก็ตกประมาณ ๑๐๘,๐๐๐ สองปีก็ ๒๑๖,๐๐๐   
ค่าวีซ่า + ค่าเรือ + ค่าเครื่องบิน รวมประมาณ ๔๐,๐๐๐ บาท 
นำเงินไปใช้หนี้เพื่อนที่นิวซีแลนด์ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
รวมแล้วผมต้องมีเงินฝากไว้ในบัญชีบัตรเครดิตอย่างน้อยก็ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ก็ใช้เงินที่ได้คืนมาจากบริษัทประกันชีวิตนั่นแหละ

ทริปนี้จะเกิดขึ้นจริงก็ขึ้นอยู่กับว่าตาแก่เมืองรถม้าจะมีสุขภาพดีและแข็งแรงพอสำหรับการเดินทางไกลในปี ๒๕๖๖ หรือไม่?  สถานการณ์ภัยพิบัติจะเกิดขึ้นแค่ไหน?
 
 
หากฝันเป็นจริง เมื่อถึงจุดหมายแล้ว ถ้าไม่ตาย  ไม่เดี้ยง หรือไม่หลงกลิ่นกำมะถัน ก็จะกลับมาเมืองไทยเมื่อวัย ๗๕

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563

คำถาม-คำตอบ ๕ ข้อแรก

 

ก่อนหน้านี้ช่างเหอะได้ซ่อมเป้ติดตะแกรงหลังให้หายรั่ว รวมทั้งทำ panniers คู่หน้าใส่ให้ทัสซูเฮะเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้ไปนอกจากนั่งมองเจ้าเพื่อนใหม่...ผมก็ต้องทำลิสต์และจัดข้าวของเตรียมไว้ให้พร้อม

ขอบคุณเดชาผู้เข้าใจความคิดของผม แม้จะไม่สนับสนุนแต่เพื่อนศิลปินก็มิได้ตำหนิหรือมีคำถามที่แสดงว่าไม่เห็นด้วย ลุงหยางแห่งแม่ฮ่องสอนก็ประสงค์จะส่ง pannier (กันน้ำ) มาให้ใช้ในการเดินทาง สามปีจากนี้ไปไม่นานเลย นึกแล้วบางครั้งก็ใจหาย คิดว่าถ้าไปแล้วไปลับ ไม่กลับมา ผมก็มีเวลาอีกแค่เพียงพันกว่าราตรี!

คำถาม - ทำไม final trip ต้องเป็นปลายปี ๒๕๖๖? 

คำตอบ - ผมต้องรอเงินคืนจากประกันชีวิตที่ทำไว้จำนวน ๓ แสนบาท เพื่อใช้เป็นทุนในการเดินทาง ซึ่งจะครบดิวในปี ๒๕๖๖

คำถาม - อะไรที่จะทำให้ไม่ได้ไปตามแผนที่วางไว้?

คำตอบ - สุขภาพก่อนออกเดินทางไม่อำนวย หรือเส้นทางจนถึงเป้าหมายไม่เคลียร์อย่างที่เป็นทุกวันนี้

คำถาม - ไม่ห่วงผู้ที่ต้องคอยดูแลทุกวันนี้หรือ?

คำตอบ - เมื่อถึงตอนนั้น วันที่ล้อจักรยานทัสซูเฮะพาผมมุ่งหน้าออกจากประเทศไทยได้ ผมจะไม่หันหลังกลับมามอง เหมือนกับในเรื่อง The ballad of Narayama เมื่อลูกชายคนโตผู้แบกแม่วัย ๗๐ไปทิ้งบนยอดเขาถูกกำชับว่าอย่าได้หันหลังกลับไปมอง ถึงอย่างไรก็ต้องตายจากกัน

คำถาม - แล้วจะไม่กลับมาจริง ๆ หรือ?

คำตอบ - ขึ้นอยู่กับร่างกายเมื่อได้ไปถึงจุดหมาย หากยังปกติดีก็จะกลับมา แต่มีสภาพอยู่ไปก็ไร้ค่า ทำอะไรไม่ได้ ต้องเป็นผู้ป่วยติดเตียง คอยเป็นภาระให้ผู้ดูแล ผมก็จะไม่กลับมา

คำถาม - แล้วไม่ห่วงสมบัติที่มีอยู่หรือ?

คำตอบ - ผมจะจัดการสั่งเสียและมอบหมายให้ผู้ที่ยังสามารถรักษามันไว้ให้เป็นประโยชน์ต่อเยาวชนคนรุ่นหลังต่อไปได้ เครื่องดนตรีที่มีผู้เมตตามอบให้มาก็จะส่งคืนไปยังเจ้าของเดิมเพื่อเป็นที่ระลึก อาทิ เปียโนไฟฟ้าจากครูเตี๋ยง, ไวโอลินแฮนด์เมดจากคุณไพสิทธิ์, ฯลฯ


นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง...

คิดถึงหมอหนุ่ย

ต าแก่เมืองรถม้าได้เห็นรูปที่เพื่อนมงฟอร์ตไปพบปะกันทุกวันอาทิตย์ที่ร้านกาแฟของเสี่ยใหญ่ (คนนั่งกลาง) ด้วยความยินดี...  ภาพจาก facebook เพ...