วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ภูเขาไฟโบรโม (Gunung Bromo) อินโดนีเซีย

ร้านเดอะบุ๊คตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับสุสานคริสตจักรเด่นดำรงธรรมซึ่งมีเพื่อนของผมบางคนฝังร่างอยู่ที่นั่น...


ดูเหมือนว่ากำลังจะพูดเรื่องความตายในบล็อก countdown อีกแล้ว ไม่ถึงขั้นนั้นครับ อยากคุยเรื่องร้านหนังสือมือสองมากกว่า แต่ก็เชื่อมโยงกัน ผมจำไม่ได้แล้วว่าเข้าร้านหนังสือใหญ่ ๆ อย่างพวก DK ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ช่วงหลังมานี้มีแต่ร้านหนังสือมือสองเท่านั้นที่พอจะแวะเยือนได้ เมื่อปีที่แล้วได้หนังสือมา ๒-๓ เล่มพอให้อาหารกับสมองที่หิวโหยได้ เล่มหนึ่งคือ "ไกลดวงตา ใกล้ใจ" 


หนังสือราคา ๓๙ บาทจากร้านมือสอง มีตราประทับของห้องสมุดพื้นบ้านย่านเวียงเชียงใหม่  creativemove.com กล่าวว่า...
ห้องสมุดฟื้นบ้านย่านเวียงเชียงใหม่ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่หรือหลังอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ให้ทั้งชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวเข้าใช้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โครงการฯ เชื่อว่าห้องสมุดดี ๆ สามารถช่วยสร้างเมืองและสังคมดี ๆ ให้เกิดขึ้นได้ ห้องสมุดเริ่มต้นด้วยเงินทุนศูนย์บาท กับแนวคิด A book I like for the city I love เปิดรับบริจาคหนังสือที่ใครก็ได้ ให้หนังสืออะไรก็ได้ที่ชอบมาเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด... 
ไม่ทราบว่าหนังสือที่มีผู้มอบให้ห้องสมุด มาอยู่ในร้านหนังสือมือสองได้อย่างไร? จริง ๆ แล้วเนื้อหาสาระในรูปเล่มเหมาะมือนั้นยังน่าสนใจอยู่ อีกทั้งให้ความรู้ที่กว้างไกล แต่ทำไมจึงไม่ถูกจัดให้อยู่ในห้องสมุดต่อไปอีกนาน ๆ?   ดูจากลายมือของพี่แดง (ผู้ซื้อมอบให้คุณแป้มและคุณต้อมเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖) ก็รู้ว่าเป็นนักเดินทางและนักอ่านผู้มีความรู้ ในส่วนของชื่อภาษาอังกฤษ ท่านยังช่วยแก้ไขคำว่า A Far ให้เป็น Afar


ในพจนานุกรมให้ความหมาย "afar" ว่า...
A·far  (ä′fär)
n. pl. Afar or A·fars
1. A member of a people of Djibouti, Eritrea, and Ethiopia.
2. The Cushitic language of the Afar.
adv.
From, at, or to a great distance: saw it afar off; traveled afar.
n. A long distance: tales from afar.
คำว่า Far น่าจะเอามาใช้เป็นคำนาม (noun) ได้กระมัง???  เหมือนกับประโยคที่ว่า "Wichai said that the cabinet under 84,000-brain-cell Prayuth has made the gap between the rich and the poor become wider and wider!"  ผมก็ยังสงกะสัยอยู่เหมือนกัน??  วานกูรูผู้รู้จริงช่วยบอกหน่อย...



บทความน่าอ่านมีมากมาย...ผมชอบคำนำที่ว่า
ความรู้ก็คือการเดินทาง คือความแตกต่าง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์คือความห่างระหว่างสิ่งที่ปรากฏกับตาเรา กับกฏเกณฑ์ภายในของสรรพสิ่งที่อยู่ลึกลงไป ความรู้ทางวัฒนธรรมของเราก็คือระยะห่างระหว่างวัฒนธรรมหรือความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมนั่นเอง ผู้คนจะรู้สึกว่า ยิ่งได้เรียนรู้วัฒนธรรมที่มีระยะห่างจากของตนเท่าไน ก็ยิ่งจะน่าตื่นเต้น เร้าใจ (exoticness) ยิ่งสะสมความต่างทางวัฒนธรรมได้มากเท่าใด ก็เหมือนได้เรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น.... 

เอาละทีนี้ก็แวะมาเรื่องความตายหน่อย เพื่อให้เข้ากับบล็อก countdown  ในหัวข้อเรื่อง "จุดหมายในกลางทาง"  (หน้า ๑๙) เขียนว่า...
ผมยืนตัดสินใจอยู่นานว่าจะเดินวนรอบปากปล่องภูเขาไฟดีหรือไม่    ปากปล่องภูเขาไฟโบรโมกว้างพอดู ด้านที่อยู่ตรงกันข้ามมองเห็นอยู่ไกลลิบ บางตอนอาจเดินได้สบาย ๆ แต่ทางเดินบางช่วงก็เล็กและแคบสำหรับการเดินเรียงเดี่ยวเท่านั้น สองข้างทางลาดชันพอที่จะเรียกได้ว่าเหว ข้างซ้ายยังพอทำเนา แต่ด้านขวามือนั้นทอดลงลิบลิ่วไปสู่ปล่องภูเขาไฟเบื้องล่างที่ปล่อยควันโขมงสีเทากลิ่นฉุนเฉีย เมื่อวันก่อนฝนก็ตกหนัก ทำให้ไม่มั่นใจว่าพื้นหยุ่น ๆ ของเถ้าภูเขาไฟที่เหยียบย่างอยู่จะถล่มลงไปเมื่อใด และก็คงไม่ง่ายนักที่จะปีนขึ้นมาใหม่...
ผมเคยบอกกับเพื่อนที่ป่าซางว่า วันนึงจะไปโดดปล่องภูเขาไฟที่นิวซีแลนด์หรือไม่ก็อินโดนีเซีย ภูเขาไฟโบรโม (V) ที่ยังไม่หลับใหลนั้นอยู่ในชวาตะวันออกของอินโดนีเซียครับ


ภาพประกอบจากหนังสือ "ไกลดวงตา ใกล้ใจ"

วิกิพีเดีย กล่าวว่า...
เขาโบรโม (อินโดนีเซีย: Gunung Bromo) เป็นภูเขาไฟตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติโบรโมเติงเกอร์เซอเมรู เป็นส่วนหนึ่งของมวลเขาสูงเติงเกอร์ในจังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย ยอดภูเขาไฟนี้มีความสูง 2,329 เมตร ซึ่งไม่ได้เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด แต่เป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของนักท่องเที่ยว เนื่องจากความสูงไม่มากนัก และเดินทางถึงยอดเขาได้โดยง่ายชื่อ โบรโม มาจากตัวสะกดในภาษาชวาของคำว่า "พรหม" ซึ่งเป็นพระนามของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ในเดือนธันวาคมของทุกปีจะมีเทศกาล Yadnya Kasada ชนชาวพื้นเมืองจะเดินเท้าขึ้นไปบนปากปล่องภูเขาไฟ และประกอบพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าโดยการโยนอาหาร ดอกไม้ และสัตว์บูชายัญลงในแอ่งภูเขาไฟเขาโบรโมเป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับ การปะทุครั้งล่าสุดเกิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๔๗ และตั้งแต่ช่วงปลาย พ.ศ. ๒๕๕๓ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน



สักวันหนึ่งอาจได้ไป countdown ที่นั่น หุหุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คิดถึง ศจ. ระพี สาคริก

ผ มนำกระป๋องเพาะต้นไม้มาวางไว้ริมหน้าต่างให้ได้รับแสงสว่าง แล้วคอยพรมน้ำให้บ้างตามสมควร... มิได้เป็นคนมือเย็น ผมไม่ได้ตั้งความหวังว่าต้นไม้ท...